ชื่อผลงานวิจัย / สิ่งประดิษฐ์ : ไม้เท้าเลเซอร์ช่วยเดิน
ชื่อนักวิจัย / หน่วยงานต้นสังกัด : ศาสตราจารย์ นายแพทย์รุ่งโรจน์ พิทยศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
“โรคพาร์กินสัน” (Parkinson’s Disease,PD) เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบได้มากกว่าร้อยละ 50 ในผู้ป่วยโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ (Movement Disorders) ผู้ป่วยพาร์กินสันมักประสบปัญหาการเดินติดขัด (Gait freezing) ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของการเดิน พบได้สูงในระยะกลาง ๆ ของโรค โดยอาการเหล่านี้จะไม่ค่อยตอบสนองต่อยา แต่สามารถตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยแสงทางสายตา หรือมีการกระตุ้นด้วยเสียงทางการได้ยินให้ก้าวเท้าเดิน นอกจากนี้ ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการเดินติดขัด หากมีสิ่งกีดขวางจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถก้าวข้ามสิ่งกีดขวางและเดินต่อไปได้ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาการทำงานที่ผิดปกติของวงจรต่างๆ ในสมอง
“ไม้เท้าเลเซอร์ช่วยเดิน” (Laser-guided walking device) นักวิจัยได้พัฒนาคิดค้น โดยอาศัยหลักการของสิ่งกระตุ้นทางสายตา (Visual cues) ) เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ลดปัญหาการเดินติดขัด และลดอุบัติเหตุของการหกล้มในผู้สูงวัย โดยได้ออกแบบไม้เท้าและโปรแกรมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพช่วยเพิ่มความมั่นคงในการก้าวเดินของผู้สูงวัย โดยเฉพาะไม้เท้าเลเซอร์ช่วยเดินผ่านการทดสอบใช้จริงในผู้ป่วยพาร์กินสัน พบว่า สามารถช่วยแก้ปัญหาในการเดินติดขัดป่วยพาร์กินสันทุกรายได้อย่างประสิทธิภาพ
การพัฒนาเทคโนโลยี ไม้เท้าเลเซอร์ช่วยเดิน
จุดเด่น
คุณสมบัติลักษณะเฉพาะ
- ขนาดอุปกรณ์ สูง x กว้าง = 90 cm x 3 cm
- น้ำหนัก = 0.4 Kg
การดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญา :
สิทธิบัตร: ชื่อ ไม้เท้าสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน เลขที่คำขอสิทธิบัตร 1101001023 ปีที่ขอรับ…..1 กรกฎาคม 2554…..วันหมดอายุ…..(อยู่ระหว่างประกาศโฆษณา)…..
งานวิจัยที่ตีพิมพ์
W. Buated,M. Sriyudthsak N. Sribunruangrit, R. Bhidayasiri . A low-cost intervention for improving gait in Parknson’s disease patients: A cane providing visual cues. European Geriatric Medicine 3 (2012) 126–130
ตึก สธ หรือผู้สูงวัย ชั้น 7 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ถนน พระรามที่ 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
เบอร์โทรศัพท์ : 02 256 4000 ต่อ 70702-3 / 081 107 9999
โทรสาร : 02 256 4000 ต่อ 70704
โทรศัพท์เคลื่อนที่ : 081-107-9999