อาการผิดปกติตอนกลางคืนในผู้ป่วยพาร์กินสัน
อาการผิดปกติตอนกลางคืนในผู้ป่วยพาร์กินสัน (nocturnal symptoms)
อาการผิดปกติตอนกลางคืนในผู้ป่วยพาร์กินสัน (nocturnal symptoms) ประกอบด้วยอาการทั้งทีเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว และที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ซึ่งบางอาการเกิดจากตัวโรคพาร์กินสันเอง หรือบางอาการเกิดผลของยาที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน ซึ่งการเกิดปัญหาอาการผิดปกติตอนกลางคืนนั้น เกิดเนื่องจากความเสื่อมของระบบประสาทที่มีความเกี่ยวข้องกับพยาธิสภาพในส่วนต่างๆของสมองรวมถึง brainstem nuclei ที่ควบคุมเกี่ยวกับการนอนหลับ ซึ่งมีสารสื่อประสาทอีกหลายชนิดที่เกี่ยวข้อง นอกจากสารสื่อประสาทโดปามีน เช่น norephinephrine ในส่วนของ locus coerulues ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของการตื่นตัว การลดลงของ serotonin ในส่วนของ raphe nuclei ทำให้เกิดความผิดปกติของอารมณ์ การลดลงของ glutamic acid decarboxylase และ acethylcholine ในส่วนของ thalamus ทำให้เกิดความผิดปกติของความจำ และ executive function หรือการพยาธิสภาพที่ dorsal vagal nucleus ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้น อาการผิดปกติที่เกิดตอนกลางคืน จึงมีอาการแสดงได้หลากหลาย โดยในผู้ป่วยพาร์กินสันขอแบ่งอาการผิดปกติ ตอนกลางคืน ตามประเภทของกลุ่มอาการ ดังนี้
- PD-related motoric symptoms คืออาการโรคพาร์กินสันที่เกิดขึ้นต่อเนื่องไปถึงกลางคืน เช่นอาการเคลื่อนไหวช้า ลำบาก (nocturnal hypokinesia) อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ผิดรูป (nocturnal dystonia) หรือ เป็นตะคริว (nocturnal cramp) ช่วงกลางคืน หรืออาการเคลื่อนไหวลำบาก เกร็งผิดรูป ตอนตื่นนอนตอนเช้า (early morning akinesia/off or dystonia) เป็นต้น
- Psychiatric and cognitive impairment มีอาการที่เกี่ยวอาการทางจิตสารทแบบที่ได้กล่าวข้างต้น ซึ่งอาการมักเกิดมากในช่วงกลางคืน เนื่องจากความมืดทำให้สารทสัมผัสในการมองเห็นลดลง ยิ่งทำให้การแปลผลสิ่งทีเห็นผิดปกติมากขึ้น จึงเกิดอาการทางจิตและประสาทมากขึ้นด้วย
- Sleep and sleep-related movement disorders อาการเคลื่อนไหวผิดปกติ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของการนอน มีลักษณะจำเพาะในแต่ละการเคลื่อนไหว เช่น อาการนอนละเมอผิดปกติ (REM sleep behavior disorder, RBD) ที่เกิดในช่วงการนอน REM sleep ซึ่งเป็นอาการนำก่อน อาการเคลื่อนไหวผิดปกติที่สำคัญในโรคพาร์กินสัน เป็นต้น
- Treatment-related nocturnal disturbance ผลที่เกิดจากยาในช่วงกลางคืน เช่น อาการหูแว่วภาพหลอน อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย กังวล ที่สามารถเกิดจากยาที่รักษาโรคพาร์กินสันได้หลายๆ กลุ่ม เช่นยาในกลุ่มยากลุ่มต้านโคลิเนอร์จิก ยาอะแมนทาดีน ยากลุ่มเสริมตัวรับโดปามีน ยายับยั้งเอนไซม์ MAO-B โดยเฉพาะ selegiline ที่มีอนุพันธ์เป็นส่วนประกอบของ amphetamine ถ้าให้ในช่วงเย็นหรือก่อนนอน อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่ายได้ เป็นต้น
- Others เช่น nocturnal autonomic disorders เช่น อาการปัสสาวะบ่อยมากกว่า 1 ครั้งต่อคืน (nocturia) ซึ่งอาการปัสสาวะบ่อยนี้ พบมากในผู้ป่วยพาร์กินสัน และเป็นอาการที่ทำให้คุณภาพการนอนของผู้ป่วยแย่ลงอีกด้วย